สวัสดีทุกคนที่ก้าวเข้ามาสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือน ทุกคนคงจะเคยได้ยินรุ่นพี่ หรือเพื่อนๆที่ทำงาน พูดถึง กองทุนรวมSSF กองทุนรวมRMF หรือซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษีกันอยู่บ่อยๆ ยิ่งถ้าเป็นช่วงสิ้นปีคำเหล่านี้แถบจะดังก้องอยู่ในหัว เรียกได้ว่าหันไปทางไหนก็มีแต่คนคุยกันแต่เรื่องนี้
แต่เอ่? เจ้ากองทุนรวมที่ว่านี้คือกองทุนอะไร วันนี้ AECS จะพามาไขข้อข้องใจของเหล่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ทำไมต้องซื้อกองทุนรวม จำเป็นไหมที่จะต้องซื้อ อะไรคือ SSF อะไรคือ RMF แล้วเราจะซื้อกองทุนรวมได้ที่ไหน
อย่างแรกเลยหากถามว่า ทำไมต้องซื้อกองทุนรวม มันจำเป็นไหม? ขอบอกเลยว่า หนึ่งเหตุผลดีๆที่ควรซื้อกองทุนรวมที่ว่านี้ ก็คือสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเราได้ และประโยชน์อีกอย่างก็คือการซื้อกองทุนนั้นเปรียบเสมือนเป็นการออมเงินในระยะยาวเพื่ออนาคตในวัยเกษียณของเรา ซึ่งนี่ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญของเราชาวมนุษย์เงินเดือนที่จะต้องให้ความสำคัญ
นอกจากนี้หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ไม่มีเวลาติดตามทุกการเคลื่อนไหวในการลงทุน หรืออยากลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท แต่ยังไม่มีความชำนาญที่ครอบคลุมทุกสิ่งอย่าง การลงทุนในกองทุนรวมก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้
ถ้าเห็นประโยชน์ของการซื้อกองทุนรวมกันแล้ว ต่อไปก็มาทำความรู้จักกับกองทุนรวม SSF และ RMF ที่ตอบโจทย์กับเป้าหมายทางการเงินของเรากันเลยดีกว่า
อย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจกับทั้ง 2 กองทุนนี้เลยก็คือกองทุนรวมดังกล่าว ไม่สามารถขายได้ก่อนเวลาที่ครบกำหนด ดังนั้นผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยาวไปจนกว่าจะครบกำหนด
สำหรับ “SSF” หรือ ชื่อเต็มๆว่า Super Saving Fund หรือก็คือกองทุนรวมเพื่อการออม เป็นกองทุนน้องใหม่หน้ามล ที่จัดตั้งขึ้นมาแทนกองทุนเก่าแก่อย่าง กองทุนLTF ที่เพิ่งสิ้นอายุไขไปในปี 2562 โดยกองทุนน้องใหม่ SSF จะมีผลบังคับใช้ในปี 2563 เป็นต้นไป
ส่วน“RMF” หรือชื่อเต็มๆว่า Retirement Mutual Fund นั่นก็คือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งจะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีใหม่ ที่จะเน้นไปที่การออมระยะยาวมากขึ้นและเน้นกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง-น้อย รวมไปถึงมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ทั้งหลาย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ทุกคนหันมาเริ่มออมเงินกันเพื่อชีวิตดีๆในวัยเกษียณกัน
ต่อมาจะพาทุกคนไปดูความต่างของทั้ง 2 กองทุนนี้ เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ กองไหนที่ตรงใจคุณมากที่สุด
ไม่ว่าจะเลือกกองไหน กองอะไร ทุกคนก็อย่าลืมศึกษานโยบายการลงทุนของกองนั้นๆ เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆในสัดส่วนที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นเสียเวลาศึกษากองที่สนใจสักนิดจะได้เลือกกองที่ตรงใจและตรงกับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้นะคะ
บล.บียอนด์ คว้าทำเลทองอาคาร “OCC” เกรด A+ ใจกลางเพลินจิต เปิดสำนักงานใหญ่ ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้านการลงทุน
บล.บียอนด์ (BYD) ลงนามร่วมจัดจำหน่ายหุ้นไอพีโอ "IVF"
บล.บียอนด์ "BYD" ได้รับรางวัลจากสำนักงาน ก.ล.ต.
บล.บียอนด์ "BYD"ยันฐานะการเงินแกร่ง โชว์เงินสดเต็มมือ-NCR สูงสุดในอุตสาหกรรม